วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 12 กุมภาพันธ์ 2557 ครั้งที่ 10
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

     วันนี้เป็นสุดท้ายของการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอสื่อทางคณิตศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มทำมา กลุ่มละ2-3 คน โดยผลงานจะเน้นให้ประโยชน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเพื่อนๆก็คิดและสร้างสรรค์ผลงานออกได้เป็นอย่างดี และแตกต่างกันแต่ละชิ้นให้ความรู้และทักษะต่างๆมากขึ้น เราสามารถนำผลงานที่เพื่อนมานำเสนอวันนี้ไปต่อยอดและทำผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมาได้เป็นอย่างดี เพราะผลงานของเพื่อนทุกให้ความรู้ ที่ต่างกันทุกชิ้นให้ประโยชน์กับครูและนักเรียนเป็นอย่างมาก ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ประดิษฐ์ผลงานที่มีชื่อว่า "ติ๊กต๊อก"

ชื่อสื่อ ติ๊กต๊อก
สมาชิก 1.น.สประภัสสร  หนูศิริ
                   2.น.สอรุณี      พระนารินทร์


วิธีการเล่น
1.ขั้นแรกให้เด็กได้ทำความรู้จักกับของเล่นชนิดนี้ก่อนว่าคืออะไร ครูสามารถให้เด็กฝึกนับเลข 1-12 เอง
2.ให้เด็กฝึกสังเกตรูปสามเหลี่ยม วงกลม และสี่เหลี่ยม ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
3.ให้เด็กลองหมุนเข็มนาฬิกาดูแต่ถ้าในกรณีที่เด็กเล็กไม่สามารถหมุนเองได้ครูอาจจะช่วยเด็กหมุน
4.ครูตั้งคำถามเด็กว่าเด็กตื่นนอนกี่โมง เช่น เด็กตื่นนอน 8 โมง ก็ให้เด็กนำรูปภาพรูปตื่นนอนไปติดตรงเวลาที่เ็ด็กตื่น

-ดิฉันได้ทำลองเล่นกับน้องโปรแกรม อยู่อนุบาล2

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กได้ฝึกนับเลข 1-12
2.เด็กได้เรียนรู้รูปทรงทางคณิตศาสตร์ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
3.เด็กได้เรียนรู้เรื่องเวลา ในชีวิตประจำวัน
ปัญหาที่พบ
1.เด็กไม่สามารถหมุนเข็มนาฬิกาเองได้
2.เด็กไม่เข้าใจเรื่องเวลา และไม่เข้าว่าจะหมุนไปตรงไหนคือกลางวัน ตรงไหนคือกลางคืน

****สื่อของเพื่อนที่ดิฉันประทับจำที่สุด คือ สื่อที่มีชื่อว่า ''เอ๊ะ..อะไรเอ่ย...


วิธีเล่น
1.ให้เด็กได้รู้จักกับภาพก่อน
2.ให้เด็กสังเกตรูปภาพว่าส่วนประกอบ ของภาพมีอะไรบ้่างและจำนวนเท่าไหร่ เช่น ต้นไม้ มี1 ต้น
3.ให้เด็กนับเลข และนำตัวเลขไปติดตรงรูปว่ามีทั้งหมดกี่จำนวน

เพื่อนออกนำเสนอสื่อ
ประโยชน์
1.เด็กได้ฝึกนับจำวน
2.ได้เรียนรู้เรื่องสี และขนาดของรูปทรง
ปัญหาที่เพื่อนพบในขณะที่นำไปทดลองเล่นกับเด็ก
1.สื่อและอุปกรณ์ไม่คงทน
2.รูปภาพของเพื่อนมีขนาดเล็กเกินไปทำให้เด็กสังเกตได้อยาก
***ข้อเสนอแนะ
-สื่อที่ใช้ไม่แข็งแรง เช่น ตีนตุ๊กแก เพื่อนนำตีนตุ๊กแกไปติดกับกระดาษแข็งทำให้เวลาดึงอาจจะขาดได้ และรูปภาพของเพื่อนมีขนาดเล็กไปทำให้เด็กไม่สามารถแยกได้ว่าชิ้นไหนอยู่ตรงไหนบ้าง

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.สามารถนำผลงานของเพื่อนไปต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมาได้
2.ทำให้ดิฉันได้รู้จักสื่อทางคณิตศาตร์ที่แตกต่างกันไปซึ่งแต่ละแบบให้ความรู้เป็นอย่างมาก
3.สามารถนำสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นไปใช้ทดลองเล่นกับเด็กได้จริงและทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและได้เรียนรู้ประโยชน์ของสื่อไปพร้อมๆกันด้วย

***ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้และข้อคิดต่างๆในการเรียนวิชานี้ เรียนแล้วไม่ยากอย่างที่คิด บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดเรียนแล้วรู้สึกมีความสุข สนุกสนาน อาจารย์ก็น่ารักเป็นกันเอง(อาจารย์น่าเด็กมาก^^)...ขอให้มีโอกาสให้หนูได้เรียนกับอาจารย์อีกนะค่ะ :)



วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 29 มกราคม 2557 ครั้งที่ 9
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


วันนี้อาจารย์ได้สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์ิืวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้จับกลุ่มกลุ่มละ 3-5 คน เขียนแผนสำหรับเด็กปฐมวัย 3 ช่วงวัย คือ ชั้นอนุบาล1 อนุบาล2 และอนุบาล3 โดยดุจากพัฒนาการและความสามารถของเด็กในแต่ละวัย ไม่ควรยากหรือง่ายเกินไป ซึ่งแผนการจัดประสบกาณ์จะประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์,กิจกรรมการเรียนรู้,สื่อ/แหล่งเรียนรู้,การวัดและประเมินผล กลุ่มของดิฉันได้จัดแผนการจัดประสบกาณ์การเรียนรู้3 กิจกรรม คือ

บรรยากาศการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในห้องเรียน
อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์



1.แผนการณ์จัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาล1 กิจกรรมบีบน้ำใส่ขวด



2.แผนการณ์จัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาล2 กิจกรรมชั่งแล้วสนุก



3.แผนการณ์จัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาล3 กิจกรรมต่อเติมหรรษา


**พอเขียนแผนจัดประสบการณ์เสร็จทุกกลุ่มอาจารย์ก็ให้ในกลุ่มเลือกเแผนที่ทุกคนในกลุ่มคิดว่าดีที่สุดแล้วออกมานำเสนอหน้าห้องเรียน เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ร่วมกัน

ประโยชน์ที่ได้รับที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.สามารถนำไปใช้สอนเด็กในชีวิตจริงเมื่อเราออกไปฝึกสอนได้เป็นอย่างดี
2.ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าแผนการจัดประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์ต้องเขียนแบบไหนและมีเนื่อหาประเด็นแบบไหน โดยที่ทำให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อ
3.ทำให้เราได้รู้ว่าสาระแต่ละสาระของเด็กแต่ละช่วงวัยมีความยากง่ายแตกต่างกันอย่างไร
4.เราสามารถแผนการจัดประสบการณ์ไปเขียนบูรณาการเพิ่มเติมกับวิชาอื่นๆที่เด็กควรจะเรียนรู้ได้
5.ทำให้เราได้พัฒนาความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และการสอนเด็กในครั้งต่อๆไป


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 22 มกราคม 2557 ครั้งที่ 8
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


        วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม เกี่ยวกับเรื่องพีชคณิต โดยมีรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เขามาประกอบภาพ ซึ่งภาพจะทำเป็นการเรียงลำดับจำนวนตัวเลขหรือ สอนเรื่องสีต่างๆก็ได้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5-6 คน


                              
                                  เพื่อนๆออกมานำเสนอผลงาน ของแต่ละกลุ่ม


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.เด็กได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆทางคณิตศาสตร์ เช่น รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม เป็นต้น
2.เด็กได้รู้จักแยกสีต่างได้เรียนรู้เรื่องสีที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
3.เด็กได้เรียนรู้การนับจำนวน ตัวเลข
4.เด็กได้รู้จักผัแต่ละชนิดที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
5.เด็กได้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ในการเรียนรู้

นอกจากนี้อาจารย์ก็ยกตัวอย่างการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้ดู

                                                                                                             
                             
การสอนแบบแผนภูมิวงกลม
     
ผลงาน ชื่อผักหรรษาของกลุ่มพวกเรา


- สอนให้เด็กได้เรียนรู้จักจำนวนนับ สี การเรียงลำดับ รู้จักผักชนิดต่างในชีวิตประจำวัน


การสอนแบบปฎิทิน



การสอนข้อดีและข้อเสีย

                                           
                                                                          สอนการจำแนก



****พออาจารย์สอนเสร็จอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ทำเกี่ยวกับ 
1. การเปรียบเทียบ 
2.การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง 
3.การสำรวจสิ่งที่ชอบ 

กลุ่มที่ 1 เปรียบเทียบของใช้ในห้องครัวกับห้องนอน


-ประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้รู้จักแยกแยะสิ่งต่างๆที่อยู่แต่ละห้องว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ระหว่างห้องครัวกับห้องนอน เพราะเป็นสิ่งอยู่อยู่ใกล้ตัวเด็กและเป็นสิ่งที่ควรรู้ สอนให้เด็กได้รู้จักสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว

กลุ่มที่ 2 การเปรียบเทียบ ความเหมือน ความต่าง 


-ประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้เด็กได้รู้จักเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ได้สังเกต ได้จินตนาการ เช่น เด็กได้คิดและจินตนาการว่ามีอะไรบ้าง ทีี่แตกต่างกันระหว่าง วัวกับ แมว ซึ่งเด็กจะได้ฝึกการคิดได้ใช้สมอง ได้เรียนรู้

กลุ่มที่ 3 การสำรวจสิ่งที่ชอบ 


-ประโยชน์ที่ได้รับ ทำให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น กล้าที่จะแสดงออก และได้บอกสิ่งที่ตนเองชอบไม่ชอบ ซึ่งทำให้เด็กได้รู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนทำให้อยากที่จะเรียน และอยากมาโรงเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำ
1.สามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนเด็กในเรื่องคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2.สามารถนำความรู้ที่ได้รับ เช่นการเปรียบเทียบ การสังเกต การเรียงลำดับ การแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของเด็กปฐมวัยไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
3.ทำให้เราได้เรียนรู้ถึงพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
4.ทำให้ได้เรียนรู้ว่าเด็กปฐมวัยมีการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์อย่างไรบ้าง
5.ทำให้ได้เรียนรู้หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี


--------------------------------------------------------ขอขอบคุณค่ะอาจารย์ ^_____^----------------------------





วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 15 มกราคม 2557 ครั้งที่ 7
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


       วันนี้อาจารย์ได้ให้ช่วยกันแต่งนิทานเล่มใหญ่ร่วมกันในห้องเรียน เรื่องที่ตกลงกันได้ คือ เรื่องลูกหมูเก็บฟืน เรื่องมีอยู่ว่า..... กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม   ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า  หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก   หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน  หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า  ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า   หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป...
      อาจารย์ได้แบ่งให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำหนังสือ โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ4-5 คนให้ช่วนกันทำหนังสือกลุ่มละ 1หน้า และนำทุกกลุ่มมารวมกันเป็นหนังสือนิทานเล่มใหญ่ 1 เล่ม 

ลงมือทำหน้าปกนิทาน



หน้าปกนิทาน



   
เพื่อนนำเสนอนิทานแต่ละหน้าของกลุ่มตนเอง

 
  

หนังสือนิทาน 1 เล่ม



ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน


1.ได้ทำงานร่วมกันกับเพื่อนเป็นทีม
2.ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงาน
3.ได้ใช้ความคิดในการที่จะสร้างหนังสือนิทาน เนื้อหาของนิทาน 1 เรื่อง
4.สามารถนำนิทานไปเล่าให้เด็กๆฟังได้ทำให้เด็กได้เรียน รู้ตัวเลข การนับเลข รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม
5.ทำให้เรากล้าที่จะแสดงออก ได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน



วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 8 มกราคม 2557 ครั้งที่ 6
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

  วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนในปี2557 หลังจากที่หยุดยาวข้ามปี มาวันแรกอาจารย์แต่งกายน่ารักเชียวใส่เสื้อสีสดใส เพื่อนก็น่ารักมากตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจคุยกับเพื่อนกันอย่างสนุกหลังจากที่ไม่ได้คุยกันมานาน ส่วนเนื้อหาในวันนี้อาจารย์สอนใน เรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ เราต้องรู้ว่า....
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
   ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐาน
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 : การวัด
สาระที่3 : เรขาคณิต
สาระที่4 : พีชคณิต
สาระที่5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
- จำนวนนับ 1-20
- เข้าใจหลักการนับ
- รู้จักเลขฮินดู อาริก และตัวเลขไทย
- รู้จักคุณค่าของจำนวนนับ
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับ
- การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
- เปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรีญ และธนบัตร
- รู้เข้าใจเกี่ยวกับเวลา และคำที่ใช่บ่งบอกเวลา
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่างขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
- มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหมายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน - การใช้บอกปริมาณ จากการนับ
             - การอ่านเลข และการเขียน
             - การเปรียบเทียบจำนวน
             - การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม  - ความหมายของกการรวม
                                              - รวมสิ่งต่างๆ ไม่เกิน 10
                                              - ความหมายของการแยก
                                              - การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ ไม่เกิน 10


สาระที่2 การวัด
- มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐาานเกี่ยวกับ การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร    - การเปรียบเทียบ การวัด และเรียงลำดับ
                                                          - การเปรียบเทียบ การชั่ง การเรียงลำดับน้ำหนัก
                                                          - การเปรียบเทียบปริมาตร การตวง
 เงิน    - ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
เวลา   - ช่วงเวลาในแต่ละวัน 
           - ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน


สาระที่3 เรขาคณิต
 - มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
 - มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
  ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะเวลา  - การบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
                                                           - รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม
                                                           - การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
                                                           - การสร้างสรรค์งานศิลปะทางคณิศาสตร์
                                                           - การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต 2 มิติ 



        


สาระที่4 พีชคณิต
- มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์  - แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือสิ่งของที่สัมพันธ์กัน




สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น
- มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม
การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง  - แผนภูมิ


  




สาระที่6 ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  -การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร และการนำเสนอ การเชื่อมความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ 

      หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำงานหนึ่งชิ้น โดยให้เลือก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม คนละ 1รูป และให้วาดรูปต่อภาพให้เป็นรูปสัตว์ ตามที่ตนเองชอบ
  - หนูเลือกรูปสามเหลี่ยม และสัตว์ที่หนูชอบ และเลือกวาด คือ แกะ


ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.ได้เรียนรู้กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ทำให้เราได้รู้ว่าในแต่ละสาระที่เด็กควรรู้  และต้องเรียนรู้มีสาระอะไรบ้างทางคณิตศาสตร์
3.ได้เรียนรู้การเปรียบเทียบรู้สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม กับหน้าสัตวืที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
4.ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
5.สามารถนำไปใช้การฝึกสอนเด็กในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี



 

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม 2556  ครั้งที่ 5
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


   วันนี้แต่ละกลุ่มนำเสนอ กิจกรรมที่แต่ละกลุ่มนำมานำเสนองาน เมื่อสัปดาห์ที่ 4 ในเรื่องของ จำนวนและการดำเนินการ  รูปทรงเรขาคณิต  การวัด  พีชคณิต  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

 กลุ่ม จำนวนและการดำเนินการ
                                                                                        




  เพื่อนได้นำเสนอกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องระหว่างการเปรียบเทียบ ผลไม้ เล็กกับใหญ่ , สัตว์ ตัวกับหัว และเพื่อนได้ให้ช่วยกันร้องเพลงและเต้นประกอบเพลงเกี่ยวกับจำนวนนับ

กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต


 กิจกรรมของเพื่อนกลุ่มนี้ คือ เพื่อนได้นำรูปทรงทางคณิตศาสตร์ต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส , สี่เหลี่ยมผืนผ้า , สามเหลี่ยม , วงกลม ,วงรี ,ห้าเหลี่ยม,หกเหลี่ยม ซึ่งมีการเปรียบเทียบกับของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หมวก กระเป๋า กล่องของขวัญ   เป็นต้น

กลุ่ม การวัด




   กิจกรรมของเพื่อนกลุ่มนี้ คือ เพื่อนมีรูปภาพสองรูปมาให้ แล้วให้เปรียบเทียบว่า ลักษณะของสิ่งของ สั้น-ยาว , สูง-เตี้ย เป็นต้น 

กลุ่ม พีชคณิต



   กิจกรรมของเพื่อนกลุ่มนี้ คือ เพื่อนมีภาพมาให้ดูและให้ช่วยกันเติมส่วนที่หายไป ที่สัมพันธ์กัน กับรูปภาพ

กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



   กลุ่มของดิฉันได้มีการนำกิจกรรม ที่เกี่ยวกับความน่าจะเป็น คือ การสุ่มหยิบลูกปิงปอง 3 สี ในถุงและความน่าจะเป็นจะได้สีอะไร ถ้าอนุบาล1 เราอาจใช้ลูกปิงปอง1 ลูก อนุบาล2 อาจ2 ลูก และอนุบาล3 เราอาจจะนำลูกปิงปองมา 3 ลูก แล้วให้เด็กๆทายว่าจะได้ลูกปิงปองสีอะไรบ้าง

กิจกรรมในห้องเรียน

  นอกจากนี้อาจารย์ยังมีกิจกรรมให้ทำ คือกิจกรรมดอกไม้ ให้นักศึกษาเขียนเลขที่ตัวเองชอบ1 เลข แล้วทำกลีบดอกไม้เท่ากับจำนวนเลขที่เขียน แล้วนำไปติดเป็นกลีบดอกไม้



ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.ได้เปรียบเทียบสิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวันกับเรขาคณิต
2.ได้ฝึกการนับเลขของเด็กๆ 
3.ได้เรียนรู้สีต่างๆและขนาดของสิ่งของในชีวิตประจำวัน
4.เด็กได้ฝึกการเขียนเลข และการลากเส้น
5.เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จากง่ายไปหายาก






วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน 2556  ครั้งที่ 4
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอรายงาน ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ, การวัด, เรขาคณิต, พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน


กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ


กลุ่มที่ 2 การวัด   เด็กปฐมวัยยังไม่เข้าใจหลักการวัด และไม่ใช่หน่วยที่แน่นอนในการวัด เด็กจะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์   การวัดสำหรับเด็ก ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ



ตัวอย่าง การวัด



กลุ่มที่ 3 เรขาคณิต  เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดต่างๆก่อนจะเข้าโรงเรียน


ตัวอย่าง รูปทรงเรขาคณิต



กลุ่มที่4 พีชคณิต ความเข้าใจในรูปแบบ หรือรูปทรง ทางคณิตศาสตร์มาแก้ปัญหา เช่นการใช้สัญญาลักษณ์  ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ในเรื่องของ ขนาด รูปทรง สี  ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีการคาดเดาว่าสิ่งที่หายไปคืออะไร

ตัวอย่างโจทย์ทางพีชคณิต




กลุ่มที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  ใช้ทักษะทางคณิตศาตร์ เช่น การสังเกต คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
   การจำแนกประเภท  คือ การแบ่งประเภทของสิ่งของโดยหาเกณฑ์ หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  เช่น ความเหมือน  ความต่าง และความสัมพันธ์  เป็นต้น
















ตัวอย่างโจทย์ปัญหาเรื่องความน่าจะเป็น



ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.สามารถจัดการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ของจริงได้ เช่น ผลไม้ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ
2.สามารถนำสื่อต่างๆมาใช้ในการสอนเด็กในอนาคตได้  เช่น  รูปทรง  ขนาด  และสัญลักษณ์ต่างๆ
3.ทำให้เราทราบว่าในการจัดกิจกรรมควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลางและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ