วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 4 ธันวาคม 2556  ครั้งที่ 5
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


   วันนี้แต่ละกลุ่มนำเสนอ กิจกรรมที่แต่ละกลุ่มนำมานำเสนองาน เมื่อสัปดาห์ที่ 4 ในเรื่องของ จำนวนและการดำเนินการ  รูปทรงเรขาคณิต  การวัด  พีชคณิต  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

 กลุ่ม จำนวนและการดำเนินการ
                                                                                        




  เพื่อนได้นำเสนอกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องระหว่างการเปรียบเทียบ ผลไม้ เล็กกับใหญ่ , สัตว์ ตัวกับหัว และเพื่อนได้ให้ช่วยกันร้องเพลงและเต้นประกอบเพลงเกี่ยวกับจำนวนนับ

กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต


 กิจกรรมของเพื่อนกลุ่มนี้ คือ เพื่อนได้นำรูปทรงทางคณิตศาสตร์ต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส , สี่เหลี่ยมผืนผ้า , สามเหลี่ยม , วงกลม ,วงรี ,ห้าเหลี่ยม,หกเหลี่ยม ซึ่งมีการเปรียบเทียบกับของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น หมวก กระเป๋า กล่องของขวัญ   เป็นต้น

กลุ่ม การวัด




   กิจกรรมของเพื่อนกลุ่มนี้ คือ เพื่อนมีรูปภาพสองรูปมาให้ แล้วให้เปรียบเทียบว่า ลักษณะของสิ่งของ สั้น-ยาว , สูง-เตี้ย เป็นต้น 

กลุ่ม พีชคณิต



   กิจกรรมของเพื่อนกลุ่มนี้ คือ เพื่อนมีภาพมาให้ดูและให้ช่วยกันเติมส่วนที่หายไป ที่สัมพันธ์กัน กับรูปภาพ

กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น



   กลุ่มของดิฉันได้มีการนำกิจกรรม ที่เกี่ยวกับความน่าจะเป็น คือ การสุ่มหยิบลูกปิงปอง 3 สี ในถุงและความน่าจะเป็นจะได้สีอะไร ถ้าอนุบาล1 เราอาจใช้ลูกปิงปอง1 ลูก อนุบาล2 อาจ2 ลูก และอนุบาล3 เราอาจจะนำลูกปิงปองมา 3 ลูก แล้วให้เด็กๆทายว่าจะได้ลูกปิงปองสีอะไรบ้าง

กิจกรรมในห้องเรียน

  นอกจากนี้อาจารย์ยังมีกิจกรรมให้ทำ คือกิจกรรมดอกไม้ ให้นักศึกษาเขียนเลขที่ตัวเองชอบ1 เลข แล้วทำกลีบดอกไม้เท่ากับจำนวนเลขที่เขียน แล้วนำไปติดเป็นกลีบดอกไม้



ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.ได้เปรียบเทียบสิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวันกับเรขาคณิต
2.ได้ฝึกการนับเลขของเด็กๆ 
3.ได้เรียนรู้สีต่างๆและขนาดของสิ่งของในชีวิตประจำวัน
4.เด็กได้ฝึกการเขียนเลข และการลากเส้น
5.เด็กได้ฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จากง่ายไปหายาก






วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน 2556  ครั้งที่ 4
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอรายงาน ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ, การวัด, เรขาคณิต, พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน


กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ


กลุ่มที่ 2 การวัด   เด็กปฐมวัยยังไม่เข้าใจหลักการวัด และไม่ใช่หน่วยที่แน่นอนในการวัด เด็กจะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์   การวัดสำหรับเด็ก ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ



ตัวอย่าง การวัด



กลุ่มที่ 3 เรขาคณิต  เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดต่างๆก่อนจะเข้าโรงเรียน


ตัวอย่าง รูปทรงเรขาคณิต



กลุ่มที่4 พีชคณิต ความเข้าใจในรูปแบบ หรือรูปทรง ทางคณิตศาสตร์มาแก้ปัญหา เช่นการใช้สัญญาลักษณ์  ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ในเรื่องของ ขนาด รูปทรง สี  ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีการคาดเดาว่าสิ่งที่หายไปคืออะไร

ตัวอย่างโจทย์ทางพีชคณิต




กลุ่มที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  ใช้ทักษะทางคณิตศาตร์ เช่น การสังเกต คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
   การจำแนกประเภท  คือ การแบ่งประเภทของสิ่งของโดยหาเกณฑ์ หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  เช่น ความเหมือน  ความต่าง และความสัมพันธ์  เป็นต้น
















ตัวอย่างโจทย์ปัญหาเรื่องความน่าจะเป็น



ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.สามารถจัดการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ของจริงได้ เช่น ผลไม้ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ
2.สามารถนำสื่อต่างๆมาใช้ในการสอนเด็กในอนาคตได้  เช่น  รูปทรง  ขนาด  และสัญลักษณ์ต่างๆ
3.ทำให้เราทราบว่าในการจัดกิจกรรมควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลางและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ





วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพุธ เวลา08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 20พฤศจิกายน 2556  ครั้งที่ 3
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

 ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอน เรื่องจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ และ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
จุดมุงหมายของการสอนคณิตศาสตร์
 -เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
 -เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 -เพื่อให้เด็กรู้กระบวนการหาคำตอบ
 -เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
 -เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
 -เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตัวเอง
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.การสังเกต (Observation)
 -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
 -โดยเข้าไปมีปฎิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของ หรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
2.การจำแนกประเภท (Classifying)
 -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น
 -เกณฑ์ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์
3.การเปรียบเทียบ (Comparing)
 -เด็กต้องอาศํยความสัมพันธ์ของวัตถุ หรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
 -เข้าใจลักษณะเฉพาะของสิ่งของนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้
4.การจัดลำดับ (Ordering)
 -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
 -การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
5.การวัด (Measurement)
 -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
 -การวัดสำหรับเด็ก ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ประมาณ
**การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตรฐานในการวัด**
6.การนับ (Counting)
 -เด็กชอบการนับแบบท่องจำโดยไมาเข้าใจความหมาย
 -การนับแบบท่องจำนี้มีความหมายต่อเนื่องเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
7.รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
 -เด็กส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับรูปทรง และขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน


กิจกรรมท้ายชั่วโมง

- วาดรูปสถานที่ 3 อย่างที่ผ่าน ก่อนจะมาถึงมหาวิทยาลัย 
   1.ร้านตัดผม
   2.ร้านขายไก่ทอด
   3.ร้านขายดอกไม้




ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-ทำให้เด็กได้เรียนรู้การสังเกตสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน
-เด็กได้ฝึกการนับ เช่น นับร้านค้าที่ตัวเองผ่านมา
-เด็กได้ฝึกทักษะการจำแนกสิ่งต่างๆรอบตัว


วันพุธ เวลา08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี13 พฤศจิกายน 2556  ครั้งที่2
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

  สัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอน เรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่
 1.จำนวนและการดำเนินการ
 2.การวัด
 3.เรขาคณิต
 4.พีชคณิต
 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ความสำคัณของคณิตศาสตร์
 -เกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
 -การคิดแก้ปัญหา
 -เป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล วางแผน และประเมินผล
 -เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กตามแนวคิดของเพียเจต์
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (sensorimotor stage) แรกเกิด -2ปี
 -เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
 -เด็กสามารถจดจำสิ่งต่างๆ และบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2.ขั้นเตรียมการคิดที่มีเหตุผล (preoperational stage) 2-7ปี
 -ใช้ภาษาแสดงความรู้ ความคิด
 -เริ้มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว
 -เล่นบทบาทสมมติ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร ที่มีความหมาย
    *เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกต และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
    *เด็กไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลงทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้   เรีียกว่า การอนุรักษ์ (Conservation)  
หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 -เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
 -ผสมผสานคณิตศาสตร์ กับ การเล่น และกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
 -ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 -ใช้คำถามปลายเปิด
 -เชื่อมโยงการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

                                               กิจกรรมท้ายชั่วโมง

-วาดรูปสัตว์ที่มีขามากที่สุด จำนวน1 ตัว



-ใส่รองเท้าให้สัตว์


ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-สามารถใช้สอนเด็กในเรื่องของการนับ เช่น นับขาของปู
-ทำให้เด็กได้เรียนรู้ และรู้จักสัตว์แต่ละชนิด
-เด็กจะได้ฝึกทักษะการวาด และการระบายสี ในกรณีที่เด็กเป็นคนทำเอง


วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพุธ เวลา08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 6พฤศจิกายน 2556  ครั้งที่ 1
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.


  ในสัปดาห์นี้เป็นคาบแรกของการเรียนการสอน ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2556 อาจารย์ได้แจกแนวการสอน สำหรับวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และบอกข้อตกลงร่วมกันในชั้นเรียน นอกจากนี้อาจารย์ให้นักศึกาษาเขียนความคาดหวังต่อการเรียนวิชานี้ ซึ่งให้เขียนออกมาเป็นแผนผังความคิดของแต่ละคน

กิจกรรมท้ายชั่วโมง

-ความคาดหวังในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สำหับเด็กปฐมวัย




ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-ทำให้เรารู้จุดมุ่งหมายของตัวเอง
-ทำให้เราได้ทำความเข้าใจกับคำว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้พัฒนาเด็กปฐมวัยในอนาคต