วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 12 กุมภาพันธ์ 2557 ครั้งที่ 10
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

     วันนี้เป็นสุดท้ายของการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนออกมานำเสนอสื่อทางคณิตศาสตร์ที่แต่ละกลุ่มทำมา กลุ่มละ2-3 คน โดยผลงานจะเน้นให้ประโยชน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเพื่อนๆก็คิดและสร้างสรรค์ผลงานออกได้เป็นอย่างดี และแตกต่างกันแต่ละชิ้นให้ความรู้และทักษะต่างๆมากขึ้น เราสามารถนำผลงานที่เพื่อนมานำเสนอวันนี้ไปต่อยอดและทำผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมาได้เป็นอย่างดี เพราะผลงานของเพื่อนทุกให้ความรู้ ที่ต่างกันทุกชิ้นให้ประโยชน์กับครูและนักเรียนเป็นอย่างมาก ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ประดิษฐ์ผลงานที่มีชื่อว่า "ติ๊กต๊อก"

ชื่อสื่อ ติ๊กต๊อก
สมาชิก 1.น.สประภัสสร  หนูศิริ
                   2.น.สอรุณี      พระนารินทร์


วิธีการเล่น
1.ขั้นแรกให้เด็กได้ทำความรู้จักกับของเล่นชนิดนี้ก่อนว่าคืออะไร ครูสามารถให้เด็กฝึกนับเลข 1-12 เอง
2.ให้เด็กฝึกสังเกตรูปสามเหลี่ยม วงกลม และสี่เหลี่ยม ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
3.ให้เด็กลองหมุนเข็มนาฬิกาดูแต่ถ้าในกรณีที่เด็กเล็กไม่สามารถหมุนเองได้ครูอาจจะช่วยเด็กหมุน
4.ครูตั้งคำถามเด็กว่าเด็กตื่นนอนกี่โมง เช่น เด็กตื่นนอน 8 โมง ก็ให้เด็กนำรูปภาพรูปตื่นนอนไปติดตรงเวลาที่เ็ด็กตื่น

-ดิฉันได้ทำลองเล่นกับน้องโปรแกรม อยู่อนุบาล2

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กได้ฝึกนับเลข 1-12
2.เด็กได้เรียนรู้รูปทรงทางคณิตศาสตร์ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
3.เด็กได้เรียนรู้เรื่องเวลา ในชีวิตประจำวัน
ปัญหาที่พบ
1.เด็กไม่สามารถหมุนเข็มนาฬิกาเองได้
2.เด็กไม่เข้าใจเรื่องเวลา และไม่เข้าว่าจะหมุนไปตรงไหนคือกลางวัน ตรงไหนคือกลางคืน

****สื่อของเพื่อนที่ดิฉันประทับจำที่สุด คือ สื่อที่มีชื่อว่า ''เอ๊ะ..อะไรเอ่ย...


วิธีเล่น
1.ให้เด็กได้รู้จักกับภาพก่อน
2.ให้เด็กสังเกตรูปภาพว่าส่วนประกอบ ของภาพมีอะไรบ้่างและจำนวนเท่าไหร่ เช่น ต้นไม้ มี1 ต้น
3.ให้เด็กนับเลข และนำตัวเลขไปติดตรงรูปว่ามีทั้งหมดกี่จำนวน

เพื่อนออกนำเสนอสื่อ
ประโยชน์
1.เด็กได้ฝึกนับจำวน
2.ได้เรียนรู้เรื่องสี และขนาดของรูปทรง
ปัญหาที่เพื่อนพบในขณะที่นำไปทดลองเล่นกับเด็ก
1.สื่อและอุปกรณ์ไม่คงทน
2.รูปภาพของเพื่อนมีขนาดเล็กเกินไปทำให้เด็กสังเกตได้อยาก
***ข้อเสนอแนะ
-สื่อที่ใช้ไม่แข็งแรง เช่น ตีนตุ๊กแก เพื่อนนำตีนตุ๊กแกไปติดกับกระดาษแข็งทำให้เวลาดึงอาจจะขาดได้ และรูปภาพของเพื่อนมีขนาดเล็กไปทำให้เด็กไม่สามารถแยกได้ว่าชิ้นไหนอยู่ตรงไหนบ้าง

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.สามารถนำผลงานของเพื่อนไปต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมาได้
2.ทำให้ดิฉันได้รู้จักสื่อทางคณิตศาตร์ที่แตกต่างกันไปซึ่งแต่ละแบบให้ความรู้เป็นอย่างมาก
3.สามารถนำสื่อที่ประดิษฐ์ขึ้นไปใช้ทดลองเล่นกับเด็กได้จริงและทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและได้เรียนรู้ประโยชน์ของสื่อไปพร้อมๆกันด้วย

***ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้และข้อคิดต่างๆในการเรียนวิชานี้ เรียนแล้วไม่ยากอย่างที่คิด บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดเรียนแล้วรู้สึกมีความสุข สนุกสนาน อาจารย์ก็น่ารักเป็นกันเอง(อาจารย์น่าเด็กมาก^^)...ขอให้มีโอกาสให้หนูได้เรียนกับอาจารย์อีกนะค่ะ :)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น