วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 27 พฤศจิกายน 2556  ครั้งที่ 4
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอรายงาน ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของแต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ, การวัด, เรขาคณิต, พีชคณิต และการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว

การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน


กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ


กลุ่มที่ 2 การวัด   เด็กปฐมวัยยังไม่เข้าใจหลักการวัด และไม่ใช่หน่วยที่แน่นอนในการวัด เด็กจะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์   การวัดสำหรับเด็ก ได้แก่  อุณหภูมิ  เวลา  ระยะทาง  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาณ



ตัวอย่าง การวัด



กลุ่มที่ 3 เรขาคณิต  เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดต่างๆก่อนจะเข้าโรงเรียน


ตัวอย่าง รูปทรงเรขาคณิต



กลุ่มที่4 พีชคณิต ความเข้าใจในรูปแบบ หรือรูปทรง ทางคณิตศาสตร์มาแก้ปัญหา เช่นการใช้สัญญาลักษณ์  ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ในเรื่องของ ขนาด รูปทรง สี  ตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีการคาดเดาว่าสิ่งที่หายไปคืออะไร

ตัวอย่างโจทย์ทางพีชคณิต




กลุ่มที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  ใช้ทักษะทางคณิตศาตร์ เช่น การสังเกต คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดมุ่งหมาย
   การจำแนกประเภท  คือ การแบ่งประเภทของสิ่งของโดยหาเกณฑ์ หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  เช่น ความเหมือน  ความต่าง และความสัมพันธ์  เป็นต้น
















ตัวอย่างโจทย์ปัญหาเรื่องความน่าจะเป็น



ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.สามารถจัดการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ของจริงได้ เช่น ผลไม้ ทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ
2.สามารถนำสื่อต่างๆมาใช้ในการสอนเด็กในอนาคตได้  เช่น  รูปทรง  ขนาด  และสัญลักษณ์ต่างๆ
3.ทำให้เราทราบว่าในการจัดกิจกรรมควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลางและเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น