วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี 8 มกราคม 2557 ครั้งที่ 6
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

  วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนในปี2557 หลังจากที่หยุดยาวข้ามปี มาวันแรกอาจารย์แต่งกายน่ารักเชียวใส่เสื้อสีสดใส เพื่อนก็น่ารักมากตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจคุยกับเพื่อนกันอย่างสนุกหลังจากที่ไม่ได้คุยกันมานาน ส่วนเนื้อหาในวันนี้อาจารย์สอนใน เรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ เราต้องรู้ว่า....
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
   ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐาน
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่1 : จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2 : การวัด
สาระที่3 : เรขาคณิต
สาระที่4 : พีชคณิต
สาระที่5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ 
- จำนวนนับ 1-20
- เข้าใจหลักการนับ
- รู้จักเลขฮินดู อาริก และตัวเลขไทย
- รู้จักคุณค่าของจำนวนนับ
- เปรียบเทียบและเรียงลำดับ
- การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
- เปรียบเทียบเรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
- รู้จักเงินเหรีญ และธนบัตร
- รู้เข้าใจเกี่ยวกับเวลา และคำที่ใช่บ่งบอกเวลา
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่างขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
- มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหมายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
จำนวน - การใช้บอกปริมาณ จากการนับ
             - การอ่านเลข และการเขียน
             - การเปรียบเทียบจำนวน
             - การเรียงลำดับจำนวน
การรวมและการแยกกลุ่ม  - ความหมายของกการรวม
                                              - รวมสิ่งต่างๆ ไม่เกิน 10
                                              - ความหมายของการแยก
                                              - การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ ไม่เกิน 10


สาระที่2 การวัด
- มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐาานเกี่ยวกับ การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร    - การเปรียบเทียบ การวัด และเรียงลำดับ
                                                          - การเปรียบเทียบ การชั่ง การเรียงลำดับน้ำหนัก
                                                          - การเปรียบเทียบปริมาตร การตวง
 เงิน    - ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร
เวลา   - ช่วงเวลาในแต่ละวัน 
           - ชื่อวันในสัปดาห์ และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน


สาระที่3 เรขาคณิต
 - มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
 - มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ
  ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะเวลา  - การบอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
                                                           - รูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม
                                                           - การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
                                                           - การสร้างสรรค์งานศิลปะทางคณิศาสตร์
                                                           - การเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต 2 มิติ 



        


สาระที่4 พีชคณิต
- มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจรูปและความสัมพันธ์
แบบรูปและความสัมพันธ์  - แบบรูปของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด หรือสิ่งของที่สัมพันธ์กัน




สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น
- มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม
การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง  - แผนภูมิ


  




สาระที่6 ทักษะ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์
  -การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร และการนำเสนอ การเชื่อมความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์ 

      หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำงานหนึ่งชิ้น โดยให้เลือก รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม คนละ 1รูป และให้วาดรูปต่อภาพให้เป็นรูปสัตว์ ตามที่ตนเองชอบ
  - หนูเลือกรูปสามเหลี่ยม และสัตว์ที่หนูชอบ และเลือกวาด คือ แกะ


ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
1.ได้เรียนรู้กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ทำให้เราได้รู้ว่าในแต่ละสาระที่เด็กควรรู้  และต้องเรียนรู้มีสาระอะไรบ้างทางคณิตศาสตร์
3.ได้เรียนรู้การเปรียบเทียบรู้สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม และวงกลม กับหน้าสัตวืที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
4.ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์พื้นฐานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
5.สามารถนำไปใช้การฝึกสอนเด็กในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น