วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพุธ เวลา08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
 วัน/เดือน/ปี13 พฤศจิกายน 2556  ครั้งที่2
 เวลาเข้าสอน 08.00 น.  เวลาเรียน 08.30 น.
  เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

  สัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอน เรื่องสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งได้แก่
 1.จำนวนและการดำเนินการ
 2.การวัด
 3.เรขาคณิต
 4.พีชคณิต
 5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ความสำคัณของคณิตศาสตร์
 -เกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
 -การคิดแก้ปัญหา
 -เป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล วางแผน และประเมินผล
 -เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ
ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กตามแนวคิดของเพียเจต์
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (sensorimotor stage) แรกเกิด -2ปี
 -เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
 -เด็กสามารถจดจำสิ่งต่างๆ และบอกคุณลักษณะของวัตถุได้
2.ขั้นเตรียมการคิดที่มีเหตุผล (preoperational stage) 2-7ปี
 -ใช้ภาษาแสดงความรู้ ความคิด
 -เริ้มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว
 -เล่นบทบาทสมมติ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น จำนวน ตัวเลข ตัวอักษร ที่มีความหมาย
    *เด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่สังเกต และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
    *เด็กไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้ เมื่อภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลงทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้   เรีียกว่า การอนุรักษ์ (Conservation)  
หลักการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 -เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆ ของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
 -ผสมผสานคณิตศาสตร์ กับ การเล่น และกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
 -ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมสัมผัสต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 -ใช้คำถามปลายเปิด
 -เชื่อมโยงการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

                                               กิจกรรมท้ายชั่วโมง

-วาดรูปสัตว์ที่มีขามากที่สุด จำนวน1 ตัว



-ใส่รองเท้าให้สัตว์


ประโยชน์และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-สามารถใช้สอนเด็กในเรื่องของการนับ เช่น นับขาของปู
-ทำให้เด็กได้เรียนรู้ และรู้จักสัตว์แต่ละชนิด
-เด็กจะได้ฝึกทักษะการวาด และการระบายสี ในกรณีที่เด็กเป็นคนทำเอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น